fbpx
วิธีทำให้บ้านเย็น

วิธีทำให้บ้านเย็น ไม่ต้องง้อแอร์ให้เปลืองค่าไฟ

     ประเทศไทยเราเรียกได้ว่าอาจจะเป็นหน้าร้อนตลอดทั้งปีเลยก็ว่าได้จะมีช่วงเวลาที่เป็นหน้าหนาวกับหน้าฝนเพียงแค่ไม่กี่เดือนเท่านั้น แล้ววันนี้เราจึงจะนำพาทุกท่านมาพบกับเทคนิคลดความร้อนภายในบ้านไม่ว่าจะช่วงหน้าร้อนหรือช่วงหน้าไหนหากรู้สึกบ้านร้อนอยู่ไม่ได้สามารถนำไปใช้ได้เลย รับประกันเลยว่าเมื่อท่านอ่านบทความจบแล้วจะสามารถนำเทคนิคการลดความร้อนภายในบ้านไปใช้ได้จริง

อยากให้บ้านเย็นต้องเริ่มตั้งแต่การวางโครงสร้างและภูมิทัศน์

1.การวางผังบ้านให้บ้านเย็น

ทิศใต้ ทิศตะวันตก แดดเยอะที่สุด

ทิศเหนือ ทิศตะวันออก แดดน้อย

จัดวางให้ห้องแต่ละห้องอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องทำงานให้อยู่ในทิศที่แดดน้อย

จัดห้องที่ต้องการความร้อนช่วยจัดการความชื้น มาไว้ในทางทิศที่โดนแดดเยอะ เช่น ห้องน้ำ โซนซักล้าง ห้องครัว

เพื่อเราจะได้ใช้ห้องแต่ละห้องอย่างมีความสุขที่สุด และยังใช้แสงแดดให้เกิดประโยชน์ด้วย

2.ทิศทางลม 

ทิศทางลมในแต่ละฤดู

  1. ฤดูร้อน (ช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม) ลมจะพัดมาทางทิศใต้ ถือว่าเป็นลมที่ดี ช่วยลดความร้อนของอากาศลงได้

การวางทิศบ้านให้หันไปทางทิศใต้ ถือเป็นทิศที่ดี เพราะเป็นทิศที่มีลมพัดเข้าบ้านตลอด จึงควรจัดให้มีช่องลม หน้าต่าง หรือประตูที่ให้ลมเข้า เพื่อดึงลมเข้าบ้านให้มากที่สุด รวมทั้งไม่ควรปลูกต้นไม้ใหญ่บังหน้าบ้าน เพราะจะเป็นการบังทิศทางลม หากพื้นที่หน้าบ้านกว้างควรขุดบ่อน้ำ หรือทำสระน้ำไว้หน้าบ้าน เพื่อให้ลดพัดความเย็นเข้าสู่ตัวบ้าน.

  1. ฤดูฝน (ช่วงเดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน) ลมจะพัดมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ลมนี้เรียกว่า “ลมมรสุม”

การวางทิศบ้านให้หันไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ จะได้รับอิทธิพลของลมมากที่สุด หากในแง่ของการวางทิศบ้านให้ถูกทิศทางลมแล้ว ถือว่าทิศนี้รับลมได้ดีที่สุด แต่ข้อเสียคือบ้านตั้งอยู่ในแนวลมมรสุม ซึ่งเสี่ยงต่อการที่บ้านจะเสียหายจากลมพายุได้ง่ายเมื่อเกิดพายุฝน ควรหาต้นไม้ใหญ่หรือแนวกำแพงเพื่อป้องกันลมมรสุมในทิศนี้แต่ต้องเว้นระยะห่างจากตัวบ้านด้วย.

  1. ฤดูหนาว (ช่วงธันวาคม-กุมภาพันธ์) ทิศทางลมจะพัดมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือเรียกว่า “ลมหนาว”

แนะนำเป็นห้องรับแขก ห้องนั่งเล่นหรือห้องทำงาน เพื่อรับแสงแดดในช่วงเช้าที่ยังไม่ร้อนจนเกินไป ตกบ่ายแสงแดดก็ไม่สาดเข้ามา และรับลมเย็นในช่วงหน้าหนาว.

3.จัดการเรื่องหลังคา

   ใส่ฟอยด์กันความร้อนหลังคา

   ใส่ฉนวนกันความร้อน

  • EPS

  • PU

  • Glasswool

  • Rockwool

จัดการให้มีระบบระบายอากาศ ให้ลมเย็นหรือลมดีเข้าด้านล่างหรือตัวบ้าน ดึงลมร้อนขึ้นด้านบนใต้หลังตา และเพิ่มตัวระบายความร้อนที่ใต้หลังคาออกจากตัวบ้าน ด้วยตัวดูดอากาศหรือลูกหมุน

 

4.เลือกวัสดุในการสร้างบ้าน วัสดุหลังคา วัสดุผนัง ผนังมวลเบา ผนังโฟม  สีทาบ้าน กระจกกันความร้อน ปัจจุบันมีวัสดุที่ออกแบบมาเพื่อการกันความร้อนค่อนข้างเยอะ เราสามารถเลือกวัสดุที่จะมาใช้ได้หลากหลาย เช่น สีทาบ้านกันความร้อน กระจกกันความร้อน วัสดุผนังต่างๆทั้งนี้ก็เลือกให้เหมาะสมกับ งบประมาณ และความพอใจของเราได้เลย

5.ปลูกต้นไม้บังแดด ไม่ให้แดดมาโดนตัวบ้านโดยตรง ช่วยเพิ่มความร่มลื่นและความสวยงามให้กับตัวบ้านแล้ว ยังช่วยลดความร้อนได้เป็นอย่างดี

6.เสริมระแนงกันแดด เพื่อช่วยกันความร้อนในบริเวณที่โดนแดดมาก 

หากทำตาม 6 ข้อด้านบนแล้วมั่นใจได้เลยว่าจะช่วยลดความร้อนลงอย่างน้อย  3-5 องศา ได้แน่นอน

ทีนี้หากเราอยากติดเครื่องปรับอากาศ ในบ้านก็จะไม่ต้องเปิดบ่อยๆ ไม่เปลืองไฟ หรือถ้าบ้านใครสามารถจัดการความร้อนได้ดีๆ อาจจะใช้แค่พัดลมก็เพียงพอแล้ว

โลโก้ตัวแทนจำหน่าย
  กระเบื้องบีเซน
วิธีทำให้บ้านเย็น

วิธีทำให้บ้านเย็น ไม่ต้องง้อแอร์ให้เปลืองค่าไฟ

     ประเทศไทยเราเรียกได้ว่าอาจจะเป็นหน้าร้อนตลอดทั้งปีเลยก็ว่าได้จะมีช่วงเวลาที่เป็นหน้าหนาวกับหน้าฝนเพียงแค่ไม่กี่เดือนเท่านั้น แล้ววันนี้เราจึงจะนำพาทุกท่านมาพบกับเทคนิคลดความร้อนภายในบ้านไม่ว่าจะช่วงหน้าร้อนหรือช่วงหน้าไหนหากรู้สึกบ้านร้อนอยู่ไม่ได้สามารถนำไปใช้ได้เลย รับประกันเลยว่าเมื่อท่านอ่านบทความจบแล้วจะสามารถนำเทคนิคการลดความร้อนภายในบ้านไปใช้ได้จริง

อยากให้บ้านเย็นต้องเริ่มตั้งแต่การวางโครงสร้างและภูมิทัศน์

1.การวางผังบ้านให้บ้านเย็น

ทิศใต้ ทิศตะวันตก แดดเยอะที่สุด

ทิศเหนือ ทิศตะวันออก แดดน้อย

จัดวางให้ห้องแต่ละห้องอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องทำงานให้อยู่ในทิศที่แดดน้อย

จัดห้องที่ต้องการความร้อนช่วยจัดการความชื้น มาไว้ในทางทิศที่โดนแดดเยอะ เช่น ห้องน้ำ โซนซักล้าง ห้องครัว

เพื่อเราจะได้ใช้ห้องแต่ละห้องอย่างมีความสุขที่สุด และยังใช้แสงแดดให้เกิดประโยชน์ด้วย

2.ทิศทางลม 

ทิศทางลมในแต่ละฤดู

  1. ฤดูร้อน (ช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม) ลมจะพัดมาทางทิศใต้ ถือว่าเป็นลมที่ดี ช่วยลดความร้อนของอากาศลงได้

การวางทิศบ้านให้หันไปทางทิศใต้ ถือเป็นทิศที่ดี เพราะเป็นทิศที่มีลมพัดเข้าบ้านตลอด จึงควรจัดให้มีช่องลม หน้าต่าง หรือประตูที่ให้ลมเข้า เพื่อดึงลมเข้าบ้านให้มากที่สุด รวมทั้งไม่ควรปลูกต้นไม้ใหญ่บังหน้าบ้าน เพราะจะเป็นการบังทิศทางลม หากพื้นที่หน้าบ้านกว้างควรขุดบ่อน้ำ หรือทำสระน้ำไว้หน้าบ้าน เพื่อให้ลดพัดความเย็นเข้าสู่ตัวบ้าน.

  1. ฤดูฝน (ช่วงเดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน) ลมจะพัดมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ลมนี้เรียกว่า “ลมมรสุม”

การวางทิศบ้านให้หันไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ จะได้รับอิทธิพลของลมมากที่สุด หากในแง่ของการวางทิศบ้านให้ถูกทิศทางลมแล้ว ถือว่าทิศนี้รับลมได้ดีที่สุด แต่ข้อเสียคือบ้านตั้งอยู่ในแนวลมมรสุม ซึ่งเสี่ยงต่อการที่บ้านจะเสียหายจากลมพายุได้ง่ายเมื่อเกิดพายุฝน ควรหาต้นไม้ใหญ่หรือแนวกำแพงเพื่อป้องกันลมมรสุมในทิศนี้แต่ต้องเว้นระยะห่างจากตัวบ้านด้วย.

  1. ฤดูหนาว (ช่วงธันวาคม-กุมภาพันธ์) ทิศทางลมจะพัดมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือเรียกว่า “ลมหนาว”

แนะนำเป็นห้องรับแขก ห้องนั่งเล่นหรือห้องทำงาน เพื่อรับแสงแดดในช่วงเช้าที่ยังไม่ร้อนจนเกินไป ตกบ่ายแสงแดดก็ไม่สาดเข้ามา และรับลมเย็นในช่วงหน้าหนาว.

3.จัดการเรื่องหลังคา

   ใส่ฟอยด์กันความร้อนหลังคา

   ใส่ฉนวนกันความร้อน

  • EPS

  • PU

  • Glasswool

  • Rockwool

จัดการให้มีระบบระบายอากาศ ให้ลมเย็นหรือลมดีเข้าด้านล่างหรือตัวบ้าน ดึงลมร้อนขึ้นด้านบนใต้หลังตา และเพิ่มตัวระบายความร้อนที่ใต้หลังคาออกจากตัวบ้าน ด้วยตัวดูดอากาศหรือลูกหมุน

4.เลือกวัสดุในการสร้างบ้าน วัสดุหลังคา วัสดุผนัง ผนังมวลเบา ผนังโฟม  สีทาบ้าน กระจกกันความร้อน ปัจจุบันมีวัสดุที่ออกแบบมาเพื่อการกันความร้อนค่อนข้างเยอะ เราสามารถเลือกวัสดุที่จะมาใช้ได้หลากหลาย เช่น สีทาบ้านกันความร้อน กระจกกันความร้อน วัสดุผนังต่างๆทั้งนี้ก็เลือกให้เหมาะสมกับ งบประมาณ และความพอใจของเราได้เลย

5.ปลูกต้นไม้บังแดด ไม่ให้แดดมาโดนตัวบ้านโดยตรง ช่วยเพิ่มความร่มลื่นและความสวยงามให้กับตัวบ้านแล้ว ยังช่วยลดความร้อนได้เป็นอย่างดี

6.เสริมระแนงกันแดด เพื่อช่วยกันความร้อนในบริเวณที่โดนแดดมาก 

หากทำตาม 6 ข้อด้านบนแล้วมั่นใจได้เลยว่าจะช่วยลดความร้อนลงอย่างน้อย  3-5 องศา ได้แน่นอน

    ทีนี้หากเราอยากติดเครื่องปรับอากาศ ในบ้านก็จะไม่ต้องเปิดบ่อยๆ ไม่เปลืองไฟ หรือถ้าบ้านใครสามารถจัดการความร้อนได้ดีๆ อาจจะใช้แค่พัดลมก็เพียงพอแล้ว

โลโก้ตัวแทนจำหน่าย
  กระเบื้องบีเซน